วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552

ผลงานเด็กๆๆๆ




สรุปโครงการ แล้วค๊า มาดูกัน

วันนี้ มีการสรุปโครงการ มะม่วง แล้วจร้า มีการจัดนิทรรศการ แล้วก็การแสดง บนเวทีขเองเด็กๆ เห็นเด็กๆ แสดงก็รู้สึกภูมิใจ ที่เด็กๆมีความกล้าแสดงออก และรู้สึกภูมิใจในตังเอง ที่สามารถสอน โครงการ มะม่วงให้ผ่านไปด้วยดี และเด็กๆ มีความสนุก ได้ความรู้ด้วย อิอิ (เราก็ทำได้ สู้ๆๆๆๆๆ)







ให้ความรู้

นอกจากเด็กๆ จะได้ความรู้จากคุณครูแล้ว ผู้ปกครอง ก็ยังมีส่วนสำคัญในการให้ความรู้ได้ด้วย นี่เป็นผู้ปกครอง ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับมะม่วง เพิ่มเติม เด็กๆตื่นเต้น มาก ครูยังตื่นเต้นเลย เพราะได้รู้ในเรื่อง ไม่ยังไม่เคยรู้ อิอิ เด็กได้ผู้ใหญ่ก็ได้





cooking แสนอร่อย

วันนี้ ทำ cooking จากมะม่วง มากันดูว่าน่าหม่ำแค่ไหน อิอิ







มะม่วง มาแล้วจร้า 555


โครงการของห้องหนูเป็นโครงการ มะม่วง เด็กๆ ส่วนใหญ่อยากเรียนเรื่องนี้ เพราะบ้านเด็กๆ ส่วนใหญ่มีมะม่วงกันทั้งนั้น ในการสอนเด็กๆ ก็สนใจที่จะทำกิจกรรม มีการพาเด็กๆ ออกไปดู ต้นมะม่วง มีเด็กอยู่คนหนึ่ง เห็นลูกมะม่วง ก็ร้องออกมาด้วยความดีใจว่า นี่ไงมะม่วง มาดูเร็วๆๆ เพื่อนก็วิ่งมาดูด้วยความสนใจ แล้วก็บอกว่า ที่บ้านเราก็มี เห็นเด็กๆ สนใจแล้วก็รู้สึกดีค๊า 555 แล้วก็กลับมาให้เด็ก วาดภาพสิ่งที่เห็น

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยธรรมประเทศอื่นนั้นนอกจากจะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดแล้ว ประชากรของประเทศจะต้องมีคุณภาพ ประเทศไทยจึงจะพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว และต้องตระหนักถึงการพัฒนาคนในประเทศเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ( พ.ศ. 2550 -2554 ) ได้เน้นการพัฒนาคนใน 3 มิติ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ โดยมุ่งให้เกิดความเสริมสร้างความรู้ตามความเหมาะสมของคนทุกกลุ่มทุกวัย เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคงและสนับสนุนการเพิ่มความสามารถของประเทศ ในขณะเดียวกันมุ่งเสริมสร้างคนไทยให้มีสุขสภาวะที่ดี ควบคู่กับการเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การคุ้มครองเศรษฐกิจและสังคม กระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ( สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,มปพ )ในปัจจุบันคนของเรามีการ แข่งขันในแทบทุกด้าน ทั้งด้านการค้า เศรษฐกิจ การเมือง ด้านเทคโนโลยี มีการแข่งขันกันระหว่างประเทศ ในด้านสังคม เยาวชนของเราก็มีการแข่งขันกันในเรื่องของแฟชั่น ฯลฯ แม้กระทั่งของการศึกษาในปัจจุบัน กระแสของโรงเรียนที่สร้างคนเก่ง โรงเรียนแข่งกัน ที่จะมุ่งให้นักเรียนของตนสร้างผลงาน ในระดับต่อไป ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องแข่งขันกันเรียน เพื่อมาเอาชนะกันมากขึ้น การศึกษาในปัจจุบันยังขาดมิติทางด้านคุณธรรมอยู่มาก ซึ่งหากสังคมเราเน้นแต่คนเก่งเราก็จะได้คนเก่ง แต่ถ้าหากคนเก่งเหล่านั้นขาดคุณธรรม-จริยธรรม เขาก็จะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว คิดถึงตนเองมากกว่าส่วนรวม เพราะโดยปรกติแล้วคนเก่งมักจะไม่อยากให้คนอื่นเก่งกว่า จึงถือว่า หากเราสอนโดยเน้นให้เด็กเป็นคนเก่งโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม ก็จะเป็นการสร้างปัญหาให้กับสังคมดังที่เราเห็นกันอยู่เช่น ทุกวันนี้ ในทางตรงกันข้ามการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์เป็นคนดี เหนือสิ่งอื่นใดให้ทุกคนสามารถมีชีวิต ที่เต็มไปด้วยความสงบ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การศึกษาไม่ใช่สอนให้เรามีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเท่านั้น แต่ควรสอนให้เราสามารถมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้ คนดีเท่านั้นที่จะคิดช่วยเหลือผู้อื่น สังคม ประเทศ และโลกของเรา คนดีจะเป็นคนเก่งได้โดยอัตโนมัติ เพราะเขาจะขยันมีความตั้งใจเรียน ปราศจากอบายมุข คนดีจึงไม่เสียเวลาชีวิตไป โดยเปล่าประโยชน์ (ดร.อาจอง ชุมสาย ณอยุธยา, 2550 : 1-2) เด็กปฐมวัยมีจิตซึมซาบความคิดความรู้ต่างๆได้มากและความคิดความรู้ต่างๆมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก จากบทบาทของพ่อแม่ที่ควรปฏิบัติต่อลูก ที่ปฏิบัติต่างกัน อาจเอาใจใส่หรือปลูกฝังเรื่องราวต่างๆ หากผู้ปกครองสามารถกำหนดบทบาทของตนเองที่ถูกต้อง ให้กับเด็กในวัยนี้จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่า (อรัญญา เจียมอ่อน,2543) ด้วยเหตุผลข้างต้นคุณธรรม จริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญ เป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเด็กและพัฒนาประเทศชาติในอนาคตต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุขดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่กาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม "๘ คุณธรรมพื้นฐาน" ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย
1) ขยันคือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรเป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
2) ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
3) ความซื่อสัตย์คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
4) มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
5) สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
6) สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่ความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว จึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ
7) สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุ ผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
8) มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน ความมีวินัยเป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่ช่วยสร้างการควบคุมตนเองและปฎิบัติตนตามระเบียบเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 2540 : 17 ) วินัย มีสองประเภท คือ วินัยภายนอกและวินัยในตนเอง วินัยภายนอกคือการการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งประพฤติปฎิบัติโดยเกรงกลัวอำนาจหรือการลงโทษ วินัยภายนอกเกิดจากการใช้อำนาจบางอย่างบังคับให้บุคคลปฎิบัติตามซึ่งเป็นการกระทำเพียงชั่งขณะเมื่ออำนาจนั้นคงอยู่ แต่หากอำนาจบังคับนั้นหมดไปวินัยก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน สำหรับวินัยในตนเองคือการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเลือกข้อปฎิบัติสำหรับตนเองขึ้นโดยสมัครใจไม่มีใครบังคับหรือ ซึ่งเกิดขึ้นจากผ่านการอบรมและเลือกสรรเป็นหลักประจำตน (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ . 2537 : 150 -152 ) วินัยเป็นเรื่องที่ปลุกฝังตั้งแต่เด็ก เพราะวินัยนอกจากจะทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความเจริญก้าวหน้าแล้ว คนที่มีวินัยกับตนเองดีมักเป็นคนที่ประสบความสำเร็จทั้งการเรียน การงาน และการดำรงชีวิต ( พูมบุญ 2538 : 41-44 ) วินัยเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย การมีวินัยที่ดีเปรียบได้กับการสร้างเกราะป้องกันอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้กระทำผิดทางสังคม และสร้างความมั่นใจให้กับเด็กว่าประพฤติดีที่สำคัญเด็กสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ
สำหรับความสะอาดนั้นมีคามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังเยาวชนไทยเนื่องจากการรักษาความสะอาดเป็นการสร้างเสริมสุขนิสัยที่ดีให้แก่เด็กด้วย ซึ่งการให้คำชี้แนะและการให้ปฏิบัติตามในเรื่องการรักษาความสะอาดนั้นครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในโรงเรียน อีกทั้งเด็กนักเรียนยังต้องช่วยกันรักษาความสะอาดด้วย โดยพ่อแม่เป็นผู้มีบทบาทในการขัดเกลาสร้างเด็กให้เป็นคนที่รักสะอาดทั้งกายและจิต
การเล่านิทานเป็นวิธีการที่ให้ความรู้วิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ สามารถจดจำ กล้าแสดงออก และมีแรงจูงใจที่จะเปิดรับพฤติกรรมที่พึงปรารถนา เนื้อหาสาระในนิทานจะเป็นตัวชี้แนะพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ ซึ่งเด็กอาจลองเลียนแบบพฤติกรรมนั้นเพื่อทดสอบว่าเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ และจะนำพฤติกรรมที่สังคมยอมรับนำมาใช้ เพื่อให้สังคมยอมรับมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยปรุงแต่งบุคลิกภาพ เพื่อแก้ไขพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปตามแบบของตัวละครในนิทานที่เด็กชอบ โน้มน้าวให้เด็กเปิดใจยอมรับพฤติกรรมต่างๆที่เป็นตัวแบบในการหล่อหลอมพฤติกรรมและบุคลิกภาพ การเล่านิทานเป็นวิธีการที่ให้ความรู้วิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ สามารถจดจำ กล้าแสดงออกและมีแรงจูงใจที่จะเปิดรับพฤติกรรมที่พึงปรารถณา เนื้อหาสาระในนิทานจะเป็นตัวชี้แนะพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ ซึ่งเด็กอาจลองเลียนแบบพฤติกรรมนั้นเพื่อทดสอบว่าเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่และจะนำพฤติกรรมที่สังคมยอมรับมาใช้เพื่อให้สังคมยอมรับมากขึ้น รวมทั้งยังปรับปรุงบุคลิกภาพ แก้ไขพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปตามแบบของตัวละครในนิทานที่เด็กชอบ โน้มน้าวให้เด็กยอมรับพฤติกรรมต่างๆที่เป็นตัวแบบในการหล่อหลอมพฤติกรรมและบุคลิกภาพ (สมศักดิ์ ปริปุรณะ.2542:61-62 )
นอกจากนี้นิทานยังสามารถใช้สอนตามจุดประสงค์ที่ครูต้องการได้ ใช้นิทานในการสอนวินัยโดยเป็นนิทานที่ครูแต่งขึ้นมาและทดลองสอนจริง เมื่อมีเหตุการณ์เด็กขาดระเบียบวินัย ผลการปลูกฝังวินัยจากการเทียบเคียงจากเนื้อหาในนิทาน เด็กๆจะพอใจและเข้าใจง่ายและจดจำได้ การกระตุ้นให้ประพฤติ ปฏิบัติตามตัวละครที่ดีจะเป็นการฝังความจำให้กับเด็ก ความสำเร็จของการเรียนการสอนไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาวิชาการ แต่อยู่ที่กระบวนการที่ครูนำมาใช้ได้ตรงกับวัยของเด็กด้วย ( น้ำฝน ปิยะ,2542 : 20-24)
ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจและได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะศึกษาการใช้นิทานชาดกที่มีต่อคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมีวินัยในตนเองและความสะอาด สำหรับเด็กปฐมวัยจึงได้ทำการ สอดแทรกนิทานทางด้านคุณธรรม จริยธรรมอันมีประโยชน์สำหรับเด็กต่อไป